ตัว กรอง อากาศ

ตัวกรองอากาศหรือ Air filter มีกี่ประเภท

ตัวกรองอากาศหรือ Air filter คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับกรองอากาศมีหน้าที่ในการกำจัดสิ่งสกปรกไม่ว่าจะเป็นไอน้ำ ไอน้ำมันและฝุ่นละอองต่างๆ ที่ปะปนเข้ามาในกระแสลม ตัวกรองอากาศมีหลักการทำงานก็คือเมื่อกระแสลมอัดไหลผ่านแผ่นบังคับทิศทางมาแล้วลมอาจจะเกิดการไหลวน จนเกิดแรงเหวี่ยงและทำให้สิ่งสกปรกต่างๆ ไปปะทะกับผนังลูกถ้วย ไอน้ำที่ปะปนมาจะตกลงสู่ด้านล่างเพื่อรอการระบายต่อไป ส่วนสิ่งสกปรกหรือฝุ่นละอองต่างๆ ก็จะถูกไส้กรองเก็บไว้เพื่อไม่ให้ปะปนไปกับกระแสลมอัดก่อนที่จะไหลออกทางช่องลมออก จะสังเกตได้เลยว่าหากมีสิ่งสกปรกมากๆ ตัวกรองอากาศหรือไส้กรองของคุณก็จะมีโอกาสอุดตันได้มากขึ้น 

ตัวกรองอากาศมีกี่ประเภท

1. Surfec Filter

ตัวกรองอากาศแบบมุ้งลวด มีหลักการทำงานก็คืออนุภาคที่มีขนาดใหญ่กว่ารูของมุ้งลวดจะถูกกั้นเอาไว้ ส่วนอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่ารูของมุ้งลวดจะถูกปล่อยผ่านไป ดังนั้น ขนาดของการกรองก็ขึ้นอยู่กับขนาดรูของมุ้งลวดนั่นเอง

2.Depth Filter

ตัวกรองอากาศชนิดนี้ได้รับความนิยมสูงมาก โดยทำจากไมโครไฟเบอร์เป็นลักษณะเส้นใยเล็กๆ ที่วางซ้อนกันอยู่หลายชั้น การกรองไม่ได้อาศัยแค่ขนาดของรูที่เป็นตัวกําหนดความละเอียดในการกองอย่างเดียวเท่านั้นแต่ยังอาศัยหลักการกองทั้งหมด 5 อย่างด้วยกันได้แก่

  • Direct Impact  กรณีอนุภาควิ่งเข้ามากระทบโดยตรงกับไฟเบอร์จะถูกจับยึดไว้
  • Inertial Effect  หากเป็นอนุภาคขนาดเล็กที่วิ่งแฉลบผ่านไฟเบอร์ ก็จะทำให้อนุภาคนั้นมีความเร็วลดลงและเมื่อกระทบไฟเบอร์เส้นถัดไปจะถูกจับยึดเอาไว้นั่นเอง
  • Diffusion Effect  หากอนุภาคมีขนาดเล็ก การเคลื่อนจะไม่เป็นเส้นตรง ซึ่งจะไหลเป็นแบบซิกแซกไปเรื่อยๆ ถ้าสามารถผ่านเส้นไฟเบอร์แรกไปได้ ในท้ายที่สุดแล้วจะถูกจับไว้ในไฟเบอร์เส้นถัดไป
  • Electrostatic Effect หากอนุภาคมีขนาดเล็กมากๆ อย่างเช่น 0.01 ไมครอน เมื่อเคลื่อนที่ผ่านไปยังไฟเบอร์ 2-3 ชั้นแรกจะเกิดการเสียดสีและท้ายที่สุดแล้วจะเกิดเป็นกระแสไฟฟ้าสถิตในอนุภาค จึงทำให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างไฟเบอร์กับอนุภาคนั้นๆ  
  • Adsorption Effect เป็นผลมาจากการวิ่งกระทบไฟเบอร์ของอนุภาค ซึ่งจะมีความนุ่มในตัวและยึดจับอนุภาคไว้โดยการดูดซับเข้าไปในเนื้อของไฟเบอร์นั่นเอง

ตัวกรองอากาศที่ดีมีประสิทธิภาพ ควรประกอบไปด้วย pre-filter stage และ final stage  รวมในตัวเดียวกันและควรมีวัสดุที่ไม่มีสารแม่เหล็กเป็นตัวซัพพอร์ตของโครงสร้างของไส้กรองเพราะอนุภาคบางตัวจะเกิด electrostatic effect ซึ่งถ้า supprt เป็นสารแม่เหล็ก อนุภาคเหล่านี้จะไปเกาะอยู่ที่ support แทน สำหรับการกรองในขั้นตอนสุดท้ายก็จะมีโฟมหุ้มโดยรอบไส้กรองหรือตัวกรองอากาศเอาไว้เพื่อดูดซับน้ำมันและน้ำโดยจะปล่อยตกลงสู่ด้านล่างที่มีการระบายน้ำโดยอัตโนมัติ